adnow

loading...

adsense

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง


  ภูหลวงมีความหมายว่าเขาที่สูงใหญ่ หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน เกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลกและดินส่วนที่อ่อนพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ ภูหลวงประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2517 มีพื้นที่ประมาณ 560,593 ไร่สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง อากาศเย็นตลอดปี ตั้งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูหลวง ฤดูกาลบนภูหลวงมี 3 ฤดูเหมือนพื้นราบแต่ระดับอุณหภูมิต่างกัน ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20-24 องศาเซลเซียสจะมีดอกไม้ที่มีสีสันเจิดจ้าสวยงามเช่นเอื้องตาเหิน กล้วยไม้ป่าดอกขาว กุหลาบขาวและกุหลาบแดง ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม อุณหภูมิใกล้เคียงหรือสูงกว่าหน้าร้อนเล็กน้อยจะมีดอกไม้ป่าดอกเล็กๆ สีชมพูอมม่วงขึ้นแซมตามทุ่งหญ้าและเทียนน้อย ฤดูหนาวอุณหภูมิลดลงมาก เฉลี่ย 0-16 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม บางวันอุณหภูมิลดลงถึง –4 องศาเซลเซียสจะมีก่วมแดงหรือที่รู้จักกันว่าเมเปิ้ล จะเปลี่ยนสีแดง แล้วผลัดใบ ตามพื้นดินจะเห็นต้นกระดุมเงินและรองเท้านารีปีกแมลงปอขึ้นอยู่บนก้อนหินและตามพื้นป่าดิบเขา ด้านตะวันออกของเทือกภูหลวงมีการค้นพบซากหินรอยเท้าไดโนเสาร์อายุกว่า 120 ล้านปี นอกจากนี้ยังมีป่าหลากชนิด เช่น ป่าผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา แต่ป่าที่โดดเด่นที่สุดบนภูหลวง คือป่าสนสองใบ สนสามใบ และทุ่งหญ้าตามพื้นที่ราบ เนินเขาและลานหิน เส้นทางศึกษาธรรมชาติภูหลวง เป็นเส้นทางเดินต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากโหล่นมน ซึ่งเป็นบริเวณที่พักนักท่องเที่ยวผ่านป่าดงดิบ ลำห้วยป่าสนสามใบ และดอกไม้สลับทุ่งหญ้าระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ถึงโหล่นสาวแยงคิง จากนั้นไปเป็นเส้นทางเดินไปยังโหล่นหินแอ่วขัน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ผ่านดงดอกไม้หลายชนิด ต่อไปเป็นทางเดินสู่ลานหินโหล่นแต้ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะพบกุหลาบขาวและกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ บริเวณผาโหล่นแต้ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูหอ ภูกระดึง ภูยองภู และภูขวาง นอกจากนี้ ยังมีจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผากบ ผาชมวิว โหล่นช้างผึ้ง ซุ้มงูเห่า และน้ำตกสายทอง
การเดินทางขึ้นภูหลวง จากจังหวัดเลยไปยังที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จากจังหวัดเลยไปตามเส้นทางสายเลย-ภูเรือ ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร ถึงบ้านสามตม แล้วแยกซ้ายที่บ้านสามตมไปอีก 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง สำหรับผู้ที่เดินทางโดยไม่เข้าตัวจังหวัดเลย เมื่อผ่านอำเภอภูเรือไปตามเส้นทางเข้าจังหวัดเลย ระยะทางประมาร 14 กิโลเมตร จะถึงบ้านสามตม แล้วแยกขวาที่บ้านสามตมไปเป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ติดต่อสอบถามรายละเอียด ที่พัก อาหาร รถขึ้นภูหลวงได้ที่ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย โทร. 08 6220 3560, 08 4280 1955 หรือติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2562 0760

แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

เหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า


ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาหลวงอำเภอวังสะพุง เหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้าแห่งนี้ เปิดให้เข้าชมได้ 4 จุด ประกอบด้วยบ่อเหมือง โรงแต่งแร่ บ่อกักเก็บกากแร่และบ่อปลาโดยในช่วงแรกเปิดให้ชมฟรีไปจนถึงวันที่ 31 ส.ค.นี้ จากนั้นก็จะเน้นเป็นหมู่คณะเพื่อการบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน เพื่อรักษาความปลอดภัยจากรถบรรทุกที่เข้า-ออกโดยจะเปิดให้เข้าชมได้ในวันจันทร์-เสาร์ เว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา09.00-16.00 น ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท ส่วนเด็กคนละ 10 บาท และค่านำเที่ยวคนละ 20  บาท  รายได้จากการเข้าเยี่ยมชมเหมืองจะเป็นรายได้ของชุมชนเขาหลวงทั้งหมดสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 08 9892 6126-28
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

แก่งคุดคู้


เป็นแก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ในช่วงโค้งของลำน้ำโขงพอดี ทำให้เกิดกระแสน้ำเชี่ยวไหลผ่านแก่ง ในหน้าน้ำ น้ำจะท่วมจนมองไม่เห็นแก่ง เวลาที่เหมาะจะชมแก่งคุดคู้คือเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้งมองเห็นเกาะแก่งชัดเจนมีโค้งสันทรายริมแม่น้ำ สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสสายน้ำโขงและธรรมชาติสองฝั่งอย่างใกล้ชิด ท่าเรือบริเวณลานจอดรถมีบริการเช่าเรือยนต์ล่องแม่น้ำโขงโดยใช้เวลาไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีร้านขายอาหารเช่นไก่ย่าง ส้มตำ ลาบ โดยเฉพาะพล่า กุ้งเต้น ต้มยำปลาจากลำน้ำโขงเป็นอาหารแนะนำในราคาไม่แพง การเดินทางจากตัวอำเภอเชียงคานนักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถสายรอบเมืองไปแก่งคุดคู้ได้ซึ่งห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร  

ถ้ำโพธิสัตว์หรือกุ้ยหลินเมืองเลย


ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านปวนพุ ตำบลปวนพุ การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับสวนหิน ห่างจากปากทางราว 9 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาเข้าไปตามทางลูกรัง 600 เมตร แล้วเลี้ยวซ้ายอีก 1.4 กิโลเมตร ก็จะถึงถ้ำ
ถ้ำแห่งนี้มีถ้ำเล็กถ้ำน้อยเรียงรายอยู่ใต้ยอดเขาทั้งหมด 15 คูหา แต่ละคูหามีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น เขาวงกต ถ้ำลับแล สวรรค์ชั้นต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหินย้อยรูปร่างสวยงามแปลกตาอีกมากมาย การเข้าชมนั้นควรติดต่อกับทางเจ้าหน้าที่ อบต.ก่อน เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า และการเดินถ้ำวกวนมาก ใช้เวลาในการเดินชมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

น้ำตกเพียงดิน หรือน้ำตกวิสุทธารา


น้ำตกเพียงดิน หรือ น้ำตกวิสุทธารา อยู่เลยสวนหินไป 2 กิโลเมตร น้ำตกเพียงดินเป็นน้ำตกขนาดกลาง แต่มีหลายชั้น บางชั้นก็ต้องปีนป่าย บางชั้นก็มีน้ำใสไหลเป็นแอ่ง ลงเล่นน้ำได้ไม่อันตราย บรรยากาศโดยรอบร่มรื่น เหมาะสำหรับพักผ่อน นั่งรับประทานอาหาร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

น้ำตกแก่งสองคอน


น้ำตกแก่งสองคอน อยู่ที่บ้านหัวนายูง ตำบลด่านซ้าย การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2013 (ด่านซ้าย-นครไทย) อยู่เลยพระธาตุศรีสองรักไปราว 400 เมตร ทางเข้าอยู่ข้างวัดเนรมิตวิปัสสนา (เข้าทางเดียวกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กน้ำหมัน) เลี้ยวเข้าไปตามทางลูกรังอีก 3 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าเข้าไป ลักษณะของน้ำตก เป็นธารน้ำกว้างไหลผ่านก้อนหินใหญ่น้อยมากมายลดหลั่นกันลงมาท่ามกลางต้นไม้ใหญ่เขียวครึ้มทั่วบริเวณ มีน้ำมากในช่วงฤดูฝน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

น้ำตกธารสวรรค์


อยู่หลังโรงเรียนนาแห้ววิทยาห่างจากอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกแห่งนี้มีความสูงประมาณ 15 เมตรบริเวณน้ำตกมีศาลาสำหรับพักผ่อน ตอนล่างมีก้อนหินน้อยใหญ่เรียงรายมีสาหร่ายและพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นบริเวณริมฝั่งสองข้างทางรถยนต์เข้าถึงบริเวณน้ำตกได้โดยสะดวก
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

น้ำตกตาดเหือง (น้ำตกไทย-ลาว)


ใหญ่และสูงมาก เกิดจากลำน้ำเหือง บริเวณรอบ ๆเป็นป่าทึบที่มีความอุดมสมบูรณ์
        การเดินทางทางรถยนต์จากที่ว่าการอำเภอนาแห้วไปตามถนนสายนาแห้ว-ร่มเกล้า ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร และแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 13 กิโลเมตร เส้นทางตลอดสายเป็นทางลาดยางจากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตก
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พระธาตุศรีสองรัก


ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 83กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรกิโลเมตรที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้ายจากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตร พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้าง องค์พระธาตุสูง 19.19 เมตร ฐานกว้างด้านละ 10.89 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมไม้สิบสอง องค์ระฆังทรง “บัวเหลี่ยม” คล้ายพระธาตุพนม พระธาตุหลวง(เวียงจันทน์) พระธาตุศรีโคตรบอง(แขวงคำม่วน) และอีกมากมายแถบลุ่มน้ำโขง พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นถวายเป็นอุเทสิกเจดีย์ (หมายถึงเจดีย์สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศให้พระศาสนา โดยไม่กำหนดว่าต้องเก็บรักษาสิ่งใด) สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2103 เสร็จในปีพ.ศ.2106 พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระมหาจักรพรรดิ)และกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ชาวด่านซ้ายหรือ “ลูกผึ้งลูกเทียน” จะร่วมกันจัดงานสมโภชพระธาตุศรีสองรักขึ้นโดยจะนำต้นผึ้ง (ประดิษฐ์จากโครงไม้ไผ่เป็นทรงหอปราสาทขนาดกว้างราว 2 ฟุต สูง 2 ฟุตเศษ กรุรอบด้วยลวดลายงานแทงหยวกจากนั้นประดับด้วย “ดอกผึ้ง” ซึ่งทำจากแผ่นเทียนกลมๆ บางๆ ตากแดดแล้วจับเป็นกลีบ ตรงกลางติดดอกบานไม่รู้โรย หรือขมิ้นหั่นเล็กๆ ต่างเกสรดอกไม้สีสดใส ) เทียนเวียนหัว (เทียนแท่งที่ฟั่นยาวพอคาดได้รอบศีรษะ) มาถวายองค์พระธาตุถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับองค์พระธาตุศรีสองรัก คือ ไม่ควรนำสิ่งของหรือดอกไม้สีแดงขึ้นบูชา ไม่ควรแต่งกายด้วยชุดสีแดงขึ้นไปนมัสการ เพราะองค์พระธาตุสร้างขึ้นเพื่อสัจจะและไมตรี สีแดงเป็นสัญญลักษณ์ของเลือดและความรุนแรง ไม่ควรกางร่ม สวมหมวกและสวมรองเท้าขึ้นไปบนพระธาตุ ไม่ควรนำเด็กต่ำกว่า 3 ปีขึ้นไปนมัสการ (หมายเหตุ : ก่อนท่านจะทำหรือประกอบพิธีใดๆ ที่เกี่ยวกับองค์พระธาตุขอให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าองค์พระธาตุก่อน )
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน


ตั้งอยู่ในวัดโพนชัย ถนนแก้วอาสา ห่างจากอำเภอด่านซ้ายประมาณ2 กิโลเมตรตัวพิพิธภัณฑ์เป็นบ้านเรือนไม้ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองด่านซ้าย นิทรรศการผีตาโขน การสาธิตทำหน้ากากผีตาโขนและสินค้าของที่ระลึกผีตาโขนในรูปแบบต่างๆ สามารถเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วัดศรีคุณเมือง


อยู่ที่ถนนชายโขง ซอย 7 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 วัดนี้เป็นแหล่งรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้างดังจะเห็นได้จากโบสถ์ ซึ่งหลังคาลดหลั่นอย่างศิลปะล้านนา ศิลปวัตถุที่สำคัญมีหลายชิ้น เช่นพระพุทธรูปไม้จำหลัก ลงรักปิดทองปางประทานอภัยแบบล้านช้าง พระพุทธรูปดังกล่าวมีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็ก พระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 นอกจากนี้ในวัดยังมีธรรมาสน์แกะสลักไม้ลงรักปิดทองทุกด้านที่พนักหลังมียอดคล้ายปราสาท ด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรฝาผนังอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติซึ่งวาดขึ้นใหม่แทนของเดิม
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

สวนหินผางามหรือคุนหมิงเมืองเลย


อยู่ที่บ้านผางาม หมู่ 10 ตำบลปวนพุ จากอำเภอหนองหินเข้าไปประมาณ 18 กิโลเมตร ภายในสวนหินผางามมีเส้นทางเดินสลับซับซ้อน บางช่วงดูลึกลับน่าตื่นเต้นคล้ายกับผจญภัยอยู่ในเขาวงกต บางช่วงต้องปีนป่ายเพิงหิน หรืออาจต้องมุดลอดโพรงถ้ำ นอกจากนี้ ตลอดเส้นทางยังมีโอกาสพบเห็นต้นไม้หายากและต้นไม้ยักษ์อย่างปรงเขาที่มีอายุหลายร้อยปี สวนหินแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “คุนหมิงเมืองเลย” นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำชมสวนหินผางามที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ค่านำชม 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมที่ อบต.หนองหิน โทร. 08 1462 1719
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานแห่งชาติภูเรือ


อุทยานแห่งชาติภูเรือ ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ มีเนื้อที่ประมาณ 75,525 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 เดือนที่เหมาะมาเที่ยวคือเดือนตุลาคม ถึงมีนาคม
ภูเรือเป็นภูเขาสูงใหญ่ บนยอดเขาเป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีต้นสนขึ้นสลับซับซ้อน มีลักษณะแปลกคือมีส่วนหนึ่งเป็นผาชะโงกยื่นออกมาเหมือนหัวเรือสำเภาใหญ่
จุดที่น่าสนใจบนอุทยานแห่งชาติภูเรือ
จุดชมทิวทัศน์เดโช เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น ในวันที่อากาศดีนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นภูต่างๆของเมืองเลยได้
ผาโหล่นน้อย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามมาก จากจุดนี้จะมองเห็นภูหลวง ภูผาสาด ภูครั่ง และทะเลภูเขาสลับซับซ้อน
ผาซำทอง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2.5 กิโลเมตร เป็นหน้าผาสูงชัน และแหล่งน้ำซับที่มีพืชน้ำไลเคนสีเหลืองคล้ายสีทองขึ้นเต็มไปทั่ว จึงเรียกว่า ผาซำทอง
น้ำตกห้วยไผ่ ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงชัน มีความสูงประมาณ 30 เมตร น้ำตกแห่งนี้นำไปใช้ทำน้ำประปาในอำเภอภูเรือด้วย
ยอดภูเรือ เป็นจุดที่สูงที่สุดในอุทยานฯ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,365 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นลานหินที่มีทุ่งหญ้าขึ้นแซมสลับกับป่าสน มีทั้งสนสองใบที่ขึ้นตามธรรมชาติและสนสามใบที่เป็นสนปลูก จากจุดนี้ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงที่กั้นพรมแดนระหว่างไทย-ลาวได้
นอกจากนี้ยังมีจุดที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น ถ้ำหินแตก หินค้างหม้อ หินวัวนอน หินพานขันหมาก หินพระศิวะ สวนหินเต่า ซึ่งหินเหล่านี้มีรูปร่างตามชื่อเรียก ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าช่วงปลายฝนต้นหนาวมีดอกไม้เล็กๆขึ้นอยู่ทั่วไปน่าชมมาก

ที่พักในอุทยานฯ ติดต่อที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.thหรือ อุทยานแห่งชาติภูเรือ โทร. 0 4288 4144
การเดินทาง
จากตัวเมืองเลยใช้ทางหลวงหมายเลข 203 (เลย-ภูเรือ) ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณหลักกิโลเมตร 49-50 ตรงที่ว่าการอำเภอภูเรือ เข้าไปเป็นทางลาดยางประมาณ 8 กิโลเมตร รถยนต์สามารถขึ้นได้ และมีทางเดินเท้า 700 เมตร ก็จะถึงยอดภูเรือ
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง


เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทยเพราะมีสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ประกอบด้วยระบบนิเวศและภูมิประเทศหลากหลายทั้งทุ่งหญ้า ป่าสนเขา ป่าดิบ น้ำตกและหน้าผาชมทิวทัศน์ เส้นทางขึ้นภูกระดึง ทางขึ้นค่อนข้างชันแต่จะมีจุดแวะพักที่ “ซำ” หมายถึง บริเวณที่มีแหล่งน้ำใต้ดินผุดขึ้นมาแต่ละจุดมีเครื่องดื่มและอาหารบริการ

จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูกระดึง
ผานกแอ่น เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมากแห่งหนึ่ง สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างซึ่งเป็นท้องทุ่งและเทือกเขา ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นมีดอกกุหลาบป่าขึ้นเป็นดงใหญ่ ซึ่งบานสะพรั่งในเดือนมีนาคม-เมษายน
ผาหล่มสัก เป็นลานหินกว้าง และมีสนต้นใหญ่อยู่ใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปจากหน้าผา เป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกได้ชัดเจนที่สุด จึงทำให้นักท่องเที่ยว ช่างภาพนิยมไปถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ผาแห่งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของภูกระดึง
นอกจากนี้ยังมี ผาหมากดูก น้ำตกวังกวาง น้ำตกเพ็ญพบใหม่ น้ำตกโผนพบ น้ำตกเพ็ญพบ น้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกธารสวรรค์ น้ำตกถ้ำสอเหนือ น้ำตกถ้ำสอใต้ สระอโนดาต เป็นต้น
การแล้วลงที่ผานกเค้า ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างชุมแพ-ภูกระดึง จากจุดนี้จะมีรถสองแถวไปอุทยานแห่งชาติ ภูกระดึงหรือหากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางเส้นทางกรุงเทพฯ-ชุมแพแล้วลงที่ตลาดชุมแพแล้วต่อรถสายชุมแพ-ผานกเค้า ไปลงที่ผานกเค้า ซึ่งจะมีรถสองแถวไปที่ทำการอุทยานฯ จากนั้นต้องเดินเท้าเข้าสู่ยอดภูกระดึงระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร
สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถส่วนตัวจากตัวเมืองเลยใช้เส้นทางหมายเลข201(เลย-ภูกระดึง) ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเลยประมาณ 75 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2019 อีก 8 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีด่านเก็บค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท และบริการลูกหาบสัมภาระ กิโลกรัมละ 15 บาท นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเต็นท์และบ้านพักได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ โทร.0 4287 1333 , 0 4287 1458 ระหว่างเวลา 07.00-18.00 น. หรือติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
หมายเหตุ : 1.อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จะปิดระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ทุกปี เพื่อให้สภาพธรรมชาติฟื้นตัวและปรับปรุงสถานที่พักสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว
                   2.อุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว 5,000 คน ต่อวัน และกางเต็นท์บนอุทยานฯ 200 หลัง ต่อวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 4287 1333 , 0 4287 1458 ระหว่างเวลา 07.00-18.00 เดินทาง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-เลย
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย


อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย อยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว มีพื้นที่ทั้งหมด 73,225 ไร่ ภูมิประเทศประกอบด้วยขุนเขาสลับซับซ้อนทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือจรดใต้ สภาพป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้งที่มีไม้ผลัดใบผสม ตามพื้นที่สูงเป็นป่าดิบเขาเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างแผ่นดินไทย-ลาว สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ เลียงผา หมาใน นกเหยี่ยว เต่าปูลู มีน้ำตกตาดเหืองที่ใหญ่โตสวยงามและเส้นทางเดินขึ้นภูสวนทราย ชมวิวทิวทัศน์ และร่องรอยประวัติศาสตร์การสู้รบของทหารไทยและลาว
สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ ได้แก่
 น้ำตกคิ้ง  อยู่ริมเส้นทางหลวงสายแสงภาเหล่าก่อ อยู่ในลำน้ำแพร่ ตัวน้ำตกมีลักษณะเป็นแก่งหินลดหลั่นลงมา  ที่จุดนี้ทางราชการได้ก่อสร้างเรือนประทับถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เสด็จเมื่อวันที่ 12  กุมภาพันธ์ 2534
 น้ำตกช้างตก  อยู่เหนือน้ำตกคิ้งขึ้นไป 500 เมตร อยู่ในลำน้ำแพร่ แต่มีความลาดชันมากกว่า
 น้ำตกวังตาด  อยู่เหนือน้ำตกช้างตก 1.5 กิโลเมตร อยู่ในลำน้ำแพร่เช่นกัน
 น้ำตกตาดเหือง (น้ำตกมิตรภาพไทย-ลาว)  อยู่ในลำน้ำเหือง มีความลดหลั่นลงมา 3 ชั้น สูงประมาณ 50 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี บริเวณรอบ ๆ มีความร่มรื่น เหมาะสำหรับการพักผ่อน และเป็นน้ำตกที่แบ่งเขตพรมแดนระหว่างไทย-ลาว
 น้ำตกผาค้อ  อยู่ในลำน้ำเหือง เป็นลำน้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตพรมแดนระหว่างไทย-ลาว บริเวณโดยรอบมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น อากาศร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน
 หินสี่ทิศ  อยู่บนเทือกเขาภูตีนสวนทราย ทางด้านทิศใต้มีหินอยู่ 4 ก้อน โผล่ขึ้นกลางป่าดงดิบ ชาวบ้านขึ้นไปสักการะทุก ๆ 3 ปี ชาวบ้านเรียกว่า 2 ปีหาม 3 ปีครอบ หมายถึง ขึ้นไปทำบุญ 1 ครั้ง แล้วเว้นไปอีก 2 ปี ขึ้นไปสักการะอีก เรียกว่า บุญภูใหญ่ หรือบุญสวนเมี่ยง จะทำราวปลายเดือน 3 หรือ เดือน 4 ไม่มีกำหนดวันที่แน่นอน
 หินก่วยหล่อ  อยู่บนภูตีนสวนทราย เป็นหินทรายขนาดใหญ่ลูกเดียวรูปร่างคล้ายดอกเห็ดตูมโผล่ขึ้นมากลางป่าดงดิบ
 จุดชมวิว เนิน  1408  บนตีนภูสวนทราย เป็นจุดที่สูงที่สุดและเป็นจุดใจกลางของอุทยานฯ หากมองลงไปทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จะเห็นบ้านบ่อเหมืองน้อย บ้านแสงภา อำเภอนาแห้วได้ และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่สวยงามอีกด้วย
 จุดชมวิว เนิน 1205  เป็นจุดชมวิวในระยะใกล้ สามารถมองเห็นบ้านห้วยน้ำผักอยู่ด้านล่าง และเห็นวิวของภูสวยดาว ภูเวียงประเทศลาวได้
      นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้สำหรับนักท่องเที่ยว คือ จากที่ทำการอุทยานฯ –ภูสวนทราย ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 5 กิโลเมตรตามลำดับ แต่ละเส้นจะต้องมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำทาง การเดินเท้าขึ้นยอดภูสวนทรายเป็นทางชันประมาณ 1 กิโลเมตร ถึงยอดภู จากนั้น เป็นทางราบ เดืนไปตามแนวสันเขาผ่านจุดชมวิวริมหน้าผาที่สวยงามหลายแห่ง
     สถานที่พัก  ทางอุทยานฯ มีบริการที่พักไว้สำหรับนักท่องเที่ยว พักได้ 10–15 คน ราคา 2,000 บาท และพักได้ 30–40 คน ราคา 3,000 บาท เต็นท์ให้เช่า นอนได้ 3 คน ราคา 250 บาท ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่ คนละ 30 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ทำการอุทยานฯ โทร. 0 4281 9340-1 หรือที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th  การเดินทาง  จากตัวเมืองเลยใช้เส้นทางหมายเลข 203 ระยะทาง 68 กิโลเมตร ถึงทางแยกบ้านโคกงามให้เลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2031 ระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้ายให้เลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2113 ไปอีก 32 กิโลเมตร จนถึงอำเภอนาแห้ว จากอำเภอนาแห้วเดินทางต่อไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงบ้านเหมือนแพร่เลี้ยวซ้ายตามเส้นทาง  1268 ผ่านตำบลแสงภา และเลี้ยวขวาตามทางแยกบนทางหลวง 1268 อีกครั้ง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 0ช อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานฯ
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

เมืองฟ้าแดดสงยาง


เมืองฟ้าแดดสงยาง  ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปง ห่างจากตัวจังหวัด 19 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงอำเภอกมลาไสย เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2367 ระยะทาง 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยอีกประมาณ 400 เมตร เมืองฟ้าแดดสงยางหรือที่เรียกเพี้ยนเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกเมืองเสมาเนื่องจากแผนผังของเมืองมีรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณที่มีคันดินล้อมรอบ 2ชั้น ความยาวของคันดินโดยรอบประมาณ 5  กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางคันดินทั้งสอง จากหลักฐานโบราณคดีที่ค้นพบ ทำให้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยภายในเมืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แล้วได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 13-15  ดังหลักฐานทางพุทธศาสนาที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งภายในและนอกเมือง เช่น ใบเสมาหินทราย จำหลักภาพเรื่องชาดก และพุทธประวัติจำนวนมาก บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมารามซึ่งอยู่ภายในเมือง บางแห่งอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิมที่พบ และบางส่วนก็นำไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น นอกจากนั้นยังมีซากศาสนสถานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปภายในเมืองและนอกเมือง เช่นพระธาตุยาคู  และกลุ่มเจดีย์บริเวณศาสนสถานที่โนนวัดสูง โนนฟ้าหยาด และโนนฟ้าแดด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองฟ้าแดดสงยางเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479

    พระธาตุยาคู  หรือพระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4  ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์


เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วย ผู้ปกครองไปทานข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการ และเอกชน จ.กาฬสินธุ์ ได้เดินทางไปสำรวจจึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

แหลมโนนวิเศษ


เป็นผืนดินที่ยื่นเข้าไปในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต.โนนบุรี อ. สหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตรเป็นจุดชมพระอาทิตย์อัสดงที่สวยงามมากปัจจุบันแหลมโนนวิเศษมีแพขนานยนต์ที่ใช้สัญจรข้ามฟากระหว่าง อ.สหัสขันธ์ กับ อ.หนองกุงศรี จ. กาฬสินธุ์ ซึ่งสามารถบรรทุกได้ทั้งรถ 6 ล้อ และ 4 ล้อ ครั้งละ 4-10 คัน ใช้เวลาข้ามฟากประมาณ 15–20 นาที
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

เขื่อนลำปาว


เป็นเขื่อนดินซึ่งสร้างปิดกั้นลำน้ำปาว และห้วยยาง มีบริเวณเขตติดต่อระหว่างตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี และตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด ตามเส้นทางหมายเลข 209 ทางหลวงสายกาฬสินธุ์-มหาสารคาม ตรงหลักกิโลเมตรที่ 10 แยกขวามือเข้าเขื่อนลำปาวตามถนนลาดยาง 26 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสูงจากท้องน้ำ 33 เมตร สันเขื่อนยาว 7.8 เมตร กว้าง 8 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยางที่บ้านหนองสองห้อง ตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำแฝดทางด้านเหนือเขื่อน จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง เก็บน้ำได้ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้แก่ หาดดอกเกด ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์ชายหาดของคนอีสาน ฃ
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

น้ำตกแก้งกะอาม


บ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามเส้นทางกาฬสินธุ์-สกลนคร ทางหลวงหมายเลข 213 ประมาณ 55 กิโลเมตร มีแก่งหินเรียงรายเป็นแนวยาว มีลานหินกว้างเหมาะแก่การพักผ่อน เป็นน้ำตกที่กำลังได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ทางหลวงแผ่นดิน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

น้ำตกตาดทอง


อยู่ในเขตอำเภอเขาวง บนเส้นทาง เขาวงดงหลวง-มุกดาหาร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามด้วยโขดหินสลับซับซ้อน ในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด น้ำตกตาดทองจะจัดให้มีงานขึ้นทุกๆ ปี ในช่วงเดือนตุลาคม รถยนต์สามารถเดินทางเข้าถึงน้ำตกได้โดยสะดวก
การเดินทางเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 2291 ถึงสามแยกกุดปลาเค้าเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2287 กิโลเมตรที่ 76 น้ำตกจะอยู่ทางขวามือ
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

น้ำตกผานางคอย


เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาภูพาน แบ่งเป็นชั้นๆ มีความสวยงามมาก สภาพป่าโดยรอบเขียวขจีอุดมสมบูรณ์ และลักษณะเด่นคือ มีน้ำไหลตลอดปีแม้ในฤดูแล้ง
การเดินทาง
จากสี่แยกอำเภอเขาวงทางหลวงหมายเลข 2291 เดินทางเข้าทาง รพช. มีป้ายตรงไปน้ำตกผานางคอยระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร (ทางบางช่วงจะเป็นลูกรัง)
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

ผาเสวย


อยู่บนเทือกเขาภูพาน เขตบ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ 17 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 58 กิโลเมตร เส้นทางสายสมเด็จ-สกลนคร เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ผารังแร้ง” เมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จผ่านและเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงเรียกที่ประทับนั้นว่า “ผาเสวย” ลักษณะตั้งอยู่บนเหวลึก หน้าผาสูงชัน ชาวบ้านเรียกว่า “เหวหำหด” บนหน้าผาเสวยสามารถชมทัศนียภาพและเป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พระธาตุยาคู


เดิมเรียกว่า “ธาตุใหญ่” เป็นพระสถูปสมัยทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) ตั้งอยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดี ทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูป 8 เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการบูรณะ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลเป็นประจำทุกปีในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นของหมู่บ้าน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พิพิธภัณฑ์สิรินธร


ตั้งอยู่ที่เชิงภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ประมาณ 28 กิโลเมตร (ก่อนถึงสหัสขันธ์ 2 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปอีก 1 กิโลเมตร บริเวณภูกุ้มข้าว ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของวัดสักกะวัน เป็นสถานที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก รวมทั้งโครงกระดูกไดโนเสาร์ทั้งตัวที่สมบูรณ์ที่ฝังอยู่ในพื้นดินและได้รับการขุดแต่งโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี
    
พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "พิพิธภัณฑ์สิริธร" การจัดแสดงภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การกำเนิดโลก  ส่วนที่ 2 การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ จนถึงการกำเนิดมนุษย์ ส่วนที่ 3 เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “ซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น” ซึ่งเป็นซากปลาน้ำจืดโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีชื่อว่า "เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ 65 ล้านปีที่แล้ว ช่วงเดียวกับไดโนเสาร์   

พิพิธภัณฑ์สิรินธร กำหนดเปิดให้บริการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ ปิดทุกวันจันทร์ เว้นแต่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์จะเปิดให้บริการตามปกติ  ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0  4387 1014, 0 4387 1613 - 4 


         นอกจากนี้ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของวัดสักกะวัน เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน) พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

         พิพิธภัณฑ์สิรินธร ได้รับรางวัลอุทสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือยอดเยี่ยม
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พุทธสถานภูปอ


ตั้งอยู่ตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ไปทางทิศเหนือประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2319 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปางไสยาสน์ ฝีมือช่างจากสมัยทวารวดี จำหลักบนหน้าผา 2 องค์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์และใกล้เคียง องค์แรกประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาทางขึ้น องค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่บนภูปอ นอกจากภูปอจะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังมีทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจอย่างยิ่ง ประชาชนในท้องถิ่นจัดงานสมโภชน์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นประมาณเดือนเมษายนของทุกปี
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พุทธสถานภูสิงห์


อยู่บนยอดเขาภูสิงห์ ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ 34 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2319 มีทางขึ้น 2 ทาง คือทางลาดยางคดเคี้ยวขึ้นตามไหล่เขาทางทิศตะวันตก และทางเดินเท้าทำเป็นบันได 401 ขั้นทางทิศตะวันออก เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่นล้อมรอบด้วยธรรมชาติทั้งยังมองเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนา หมู่บ้านและน้ำในเขื่อนลำปาวอันสวยงามอีกด้วยพุทธสถานภูสิงห์เป็นที่ประดิษฐานพระพรหมภูมิปาโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 10.5 เมตร มีพระวรกายสง่างาม เป็นสถานที่พักผ่อนที่ร่มรื่น
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วนอุทยานภูแฝก ( แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ )


ตั้งอยู่หมู่ 6 บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง  ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่  และมีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่นกระรอก กระแต อีเห็น กระต่ายป่า เป็นต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปทานข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการ และเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เดินทางไปสำรวจจึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ปัจจุบันนั้นเห็นชัดเจนเพียง 4 รอย

 การเดินทาง 
จากอำเภอเมือง ใช้เส้นทางไปอำเภอสมเด็จ(ทางหลวงหมายเลข 213 )  ถึงอำเภอสมเด็จเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางไปอำเภอกุฉินารายณ์ (ทางหลวงหมายเลข 2042 ) ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยผึ้ง เลี้ยวซ้ายไปกิ่งอำเภอนาคู (ทางหลวงหมายเลข 2101 ) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานภูแฝกประมาณ 4.7  กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วนอุทยานภูพระ


อยู่ที่ตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จากตัวเมืองใช้เส้นทาง อำเภอเมือง-อำเภอยางตลาด-อำเภอท่าคันโท อยู่ห่างจากตัวเมืองท่าคันโทไป 4 กิโลเมตร ภายในวนอุทยานประกอบด้วยสวนหินรูปร่างแปลกตา อยู่ท่ามกลางป่าเต็งรัง ครอบคลุมพื้นที่ 65,900 ไร่
ภายในวนอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่

    ผาเสวย เป็นลานหินผากว้าง มีความลึกของหน้าผาประมาณ 150-200 เมตร เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม
    ถ้ำเสียมสับ เป็นถ้ำของหินผาที่มีลักษณะคล้ายเสียมที่ขุดลงหิน ซึ่งเมื่ออยู่หน้าปากถ้ำจะเห็นหินผาที่สูง
    ถ้ำพระรอด เป็นถ้ำที่เกิดจากการแยกตัวของหินผา ภายในถ้ำมีทางเดินกว้างประมาณ 2 เมตร ระยะทางประมาณ 30 เมตร ในสมัยก่อนจะมีพระสงฆ์มาจำพรรษาและปฏิบัติธรรมเป็นประจำ
    ผาหินแยก เป็นหน้าผาที่แยกตัวเป็นทางยาวประมาณ 20 เมตร ลึก 6 เมตร ซึ่งผาที่แยกตัวออกมาจะมีลักษณะเอนเอียงเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้
    ถ้ำพระ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 30 เมตร ปากถ้ำกว้าง 15 เมตร มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่และราษฎรในท้องถิ่นต่างให้ความเคารพสักการะเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสงกรานต์จะมีงานเดินขึ้นภูพระเพื่อสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี

    การเดินทาง จากอำเภอท่าคันโท ใช้ทางหลวงหมายเลข 2299 กิโลเมตรที่16 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยรถประจำทางสายอุดรธานี-กาฬสินธุ์ ลงที่วัดสว่างถ้ำเกิ้งซึ่งอยู่บริเวณหน้าวนอุทยานฯ
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วัดศรีบุญเรือง (วัดเหนือ)


เป็นวัดเก่าแก่ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีเสมาจำหลักเมืองฟ้าแดดสูงยางจำนวนหนึ่งเก็บรักษาไว้ โดยปักไว้รอบพระอุโบสถ หลักเสมาจำหลัก ที่สวยงามคือ หลักที่จำหลักเป็นรูปเทวดาเหาะอยู่เหนือปราสาททำเป็นซุ้มเรือนแก้ว (ศิลปแบบทวารวดี) ซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ล่างสุดมีรูปกษัตริย์ พระมเหสี และพระโอรส
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร)


ตั้งอยู่หน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอนุสาวรีย์หล่อด้วยสัมฤทธิ์เท่าตัวจริงยืนบนแท่นมือขวาถือกาน้ำ มือซ้ายถือดาบอาญาสิทธิ์ ชาวกาฬสินธุ์ทุกหมู่เหล่าได้สละทรัพย์ก่อสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาต่อผู้ให้กำเนิดเมืองกาฬสินธุ์
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

เขื่อนอุบลรัตน์


เนื่องจากสร้างข้ามแม่น้ำพองโดยปิดกั้นลำน้ำพองตรงบริเวณช่องเขาที่เป็นแนวต่อระหว่างเทือกเขาภูเก้าและภูพานคำ การก่อสร้างเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2507 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย การคมนาคม ตลอดไปจนถึงเป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ภายในบริเวณมีร้านอาหารเรือนพานคำ บ้านพัก สนามกอล์ฟ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เดินชมสวนพรรณไม้ในวรรณคดี สวนประติมากรรมไดโนเสาร์ วังมัจฉาและร้านอาหารตามสั่งภายในบริเวณเขื่อน เปิดทุกวัน เวลา 07.00-20.00 น. อีกด้วย   นอกจากนี้ ที่ปลายสุดสันเขื่อนยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิริสัตตราช หรือ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ทำการเขื่อนอุบลรัตน์ โทร. 0 4344 6231, 0 4322 4129 ต่อ 2864 หรือ กรุงเทพฯ โทร. 0 2436 6046-8
         การเดินทาง
ไปได้ตามทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-อุดรธานี) เป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่เขื่อนอุบลรัตน์อีก 24 กิโลเมตร รวมระยะทางห่างจากตัวเมือง 50 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

เมืองโบราณโนนเมือง


เป็นการพบร่องรอยทางโบราณคดี ยุคสมัยศิลปะทวารวดีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งความจริงสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่นได้จัดเป็นโบราณสถานที่สำคัญของขอนแก่นไว้นานแล้วแต่เพิ่งจะขุดค้นพบเป็นบางส่วนไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 พบว่าใต้ดินลึกลงไปจากบริเวณโนนเมืองเป็นร่องรอยถิ่นฐานของสังคมประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งในอดีตเมืองโบราณสมัยทวารวดีแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า โนนเมือง เขตบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพ ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 80 กิโลเมตร เดิมทีชาวบ้านเล่าลือสืบต่อกันมาว่าบริเวณเนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้นเป็นเมืองเก่าเมืองโบราณจากการสำรวจของสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่น พบในเสมาหินทรายศิลปะทวารวดี 3 ใบ ตั้งใกล้เคียงและบนผิวพื้นดินทั่วไปของเนินพบเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดง ชนิดลายขูดขีด และลายเชือกทาบลักษณะของเนินเป็นเนินดินรูปไข่ พื้นที่ประมาณ 170 ไร่ มีคูเมือง 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตรการขุดค้นของสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่น โดยเปิดหลุมขุด 2 หลุมขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร ได้พบว่าตรงความลึกประมาณ 270 เซนติเมตร เป็นโครงกระดูกมนุษย์ที่มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ ที่มีธรรมเนียมการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมกับศพ เช่น หม้อและภาชนะดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด ลายเชือกทาบ กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์เช่น กระดูกหมู กระดูกควาย เขากวาง และกระดองเต่าใกล้กับโครงกระดูกด้วย สำหรับหลุมแรกพบโครงกระดูกจำนวน 5 โครงและหลุมที่ 2 จำนวน 2 โครง  อย่างไรก็ดี ขณะนี้เพียงสันนิษฐานว่าโครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นพบน่าจะเป็นคนในยุคสมัยทวารวดีจนกว่าจะมีการพิสูจน์ วิเคราะห์ตามหลักวิชาการที่ถูกต้องด้านโบราณคดีต่อไปในภายหลัง
การเดินทาง  ใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12 ) ผ่านตัวอำเภอชุมแพ ถึงที่ทำการไปรษณีย์ เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

บึงแก่นนคร


ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลกลางเมืองขอนแก่น เป็นบึงขนาดใหญ่มีเนื้อที่ 603 ไร่ นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ "เจ้าเพียเมืองแพน"ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่นแล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานที่ที่นิยมมาพักผ่อนหย่อนใจและทำกิจกรรมนันทนาการของชาวเมืองเพราะมีบรรยากาศสบายๆพื้นที่โดยรอบมีการปรับปรุงตกแต่งให้เป็นสวนสุขภาพประดับประดาด้วยประติมากรรมรูปต่างๆ ดูเพลินตาเพลินใจยิ่งไปกว่านั้นทางเทศบาลยังปลูกต้นคูณและไม้ดัดไว้โดยรอบเพิ่มความร่มรื่นสวยงามให้กับสถานที่ยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่นและร้านอาหารเปิดบริการหลายประเภทอีกด้วย
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

ปราสาทเปือยน้อย


ถึงแม้จะเป็นปราสาทหินที่มีขนาดไม่ใหญ่เท่ากับปราสาทหินพิมายหรืออีกหลายแห่งที่พบทางอีสานตอนใต้แต่ก็นับเป็นปราสาทเขมรที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง ปราสาทเปือยน้อย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุกู่ทอง สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบนครวัด สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู แผนผังการก่อสร้างมีความหมายเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งถือเป็นแกนจักรวาลอันเป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าที่เรียกว่า “ศาสนบรรพต” สิ่งก่อสร้างภายในบริเวณปราสาทเป็นไปตามแบบแผนของศาสนสถานขอมโบราณ หน้าบันขององค์ปรางค์ประธานสลักเป็นพระยานาคราชมีลวดลายสวยงามมาก ทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่นับว่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ "โคปุระ" (ซุ้มประตู) อยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ด้านข้างโคปุระเจาะเป็นช่องหน้าต่าง "กำแพงแก้ว" มีฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย มีการสลักศิลาแลงเป็นร่องแบบลาดบัว
การเดินทางจากขอนแก่นจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-บ้านไผ่) ระยะทาง 44 กิโลเมตร เข้าทางหลวงหมายเลข 23 (บ้านไผ่-บรบือ) ไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าสู่อำเภอเปือยน้อยอีก 24 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

ผานกเค้า


เป็นภูเขาสูงตั้งตระหง่านอยู่ริมลำน้ำพอง อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 125 กิโลเมตร ตามทางหลวงสายขอนแก่น-วังสะพุง (หมายเลข 2 และ 201) ผานกเค้าอยู่ทางด้านซ้ายมือของบ้านดงลาน ลักษณะของผานกเค้าเป็นภูเขาหินสีดำ มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่ประปราย บริเวณที่จะมองเห็นเค้าโครงของนกเค้าได้ชัดเจนควรเดินเข้าไปในศูนย์เพาะชำกล้วยไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้ ซึ่งตั้งอยู่อีกฟากถนน จะเห็นว่าลักษณะผาเหนือจะงอยปากขึ้นไปมีลักษณะเป็นหงอน ถัดลงมาเป็นหินกลมโค้งต่ำจากส่วนหงอนลงมาเป็นส่วนหัว ตรงกลางหัวมีรอยหินกะเทาะเป็นสีส้มอยู่ในตำแหน่งดวงตา ต่ำลงมาจากส่วนหัวจะถึงแนวปีกทั้งสองข้างที่กางออก
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พระธาตุขามแก่น


สร้างขึ้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่าโมริยกษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุพระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม 9 องค์นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่งซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำแล้วและบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพักชั่วคราว รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึงภูกำพร้าปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่าแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำพระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุและให้นามว่าพระธาตุขามแก่นมาจนทุกวันนี้ พระธาตุขามแก่นถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 209 (ขอนแก่น-กาฬสินธุ์) ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร เมื่อข้ามลำน้ำพองแล้ว เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านโคกสีไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร หรืออีกเส้นทางหนึ่ง ไปตามถนนกสิกรทุ่งสร้าง-ค่ายศรีพัชรินทร์-บ้านโคกท่า ถึงสะพานข้ามแม่น้ำพอง เลี้ยวขวาจะเจอป้ายไปพระธาตุขามแก่นอีกประมาณ 10 กิโลเมตร  
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พัทยา 2


ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 78 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ราบริมทะเลสาบประมาณ 20 ไร่ ทะเลสาบมีอาณาเขตติดต่อกับเขื่อนอุบลรัตน์ โดยมีเทือกเขาภูพานคำทอดยาวเป็นฉากหลัง เหมาะแก่การพักผ่อน รับประทานอาหาร และเล่นน้ำในบรรยากาศคล้ายชายทะเล  ในบริเวณมีร้านอาหารบริการอาหารพื้นเมือง ปลาเผา  และมีอุปกรณ์เพื่อกิจกรรมทางน้ำไว้บริการ เช่น ห่วงยาง จักรยานน้ำ บาบาน่าโบ๊ต มักจะมีผู้คนท้องถิ่นมาพักผ่อนหย่อนใจกันมากในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึงแยกหนองเรือเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 ตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านอำเภอภูเวียง ทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างทางจะมีป้ายบอกทางเข้าไปยังพัทยา 2 ไปอีกประมาณ 23 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง


ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)     ขอนแก่น และกรมทรัพยากรธรณี เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรธรณีสู่สาธารณชน เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อประโยชน์ของสังคมและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป อาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบริการ ได้แก่ ร้านขายของที่ระลึก ห้องอาหาร ห้องบรรยาย  ส่วนวิชาการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ ห้องทำงาน ห้องสมุด และส่วนนิทรรศการ ได้แก่ ห้องจัดแสดงชั้นล่างและชั้นบน จัดแสดงนิทรรศการการกำเนิดโลก หิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ และหุ่นจำลองไดโนเสาร์  เปิดให้เข้าชมทุกวัน  ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง กรมทรัพยากรธรณี โทร. 0 4343 8204-6

การเดินทาง
ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง จากขอนแก่นเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ ถึงทางแยกไปอำเภอภูเวียง ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร จึงแยกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 อีก 22 กิโลเมตรถึงอำเภอภูเวียงและเดินทางต่อไปอีก 10 กิโลเมตรถึงพิพิธภัณฑ์
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น


ตั้งอยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง จัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่นอีสานเหนือ ในทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยา โดยแบ่งเรื่องราวตามหัวข้อ ดังนี้
1.สภาพภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาอีสานเหนือ
1.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์
-การตั้งถิ่นฐาน เครื่องมือเครื่องใช้ พิธีกรรม การฝังศพ แหล่งโบราณคดีที่สำคัญ
-เมืองและชุมชนโบราณ
1.2 สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งเป็นวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมรหรือลพบุรีและวัฒนธรรมไทยลาว
2. วิวัฒนาการศิลปะในประเทศไทย
3. เมืองขอนแก่น ประกอบด้วย ร่องรอยอดีต ประวัติชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมพื้นบ้าน
โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ที่แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ฯ มี
-ใบเสมาหินจำหลักสมัยทวารวดี ชิ้นที่งามที่สุด คือ ใบเสมาหินจำหลักนูนต่ำ พระพุทธเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นภาพจำหลักที่ชัดเจนและสมบูรณ์กว่าแผ่นอื่น ภาพพระนางพิมพาสยายพระเกศาเช็ดพระบาท เป็นภาพแสดงการถวายความเคารพบูชาอย่างสูง ได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์  พระพุทธรูปสำริด ภาพปูนปั้นและพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีได้จากการขุดแต่งเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ แผ่นเงินดุน ภาพพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ภาพบุคคล และเจดีย์บรรจุอยู่ในหม้อดินเผา ได้จากการขุดค้นเมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
-โบราณวัตถุสมัยลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 เช่น
  -เทวรูปพระอิศวรหินทราย พบที่บริเวณกู่น้อย เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
  -เทวรูปพระนารายณ์สี่กร  ขุดพบระหว่างการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน เมืองนครจำปาศรี ได้พบแต่องค์ ไม่พบเศียร พระโพธิสัตว์หินทราย ศิลปะลพบุรี หน่วยศิลปากรที่ 7 ขุดพบที่กู่สันตรัตน์ เมืองนครจำปาศรี ทับหลังหินจำหลัก จากโบราณสถานกู่สวนแตง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเป็นตัวอย่างฝีมือการจำหลักหินซึ่งเป็นชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปราสาทหินสม้ยลพบุรี พิพิธภัณฑ์ฯนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ปิดวันจันทร์วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ โทร. 0 4324 6170 www.thailandmuseum.com  
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วัดไชยศรี


ตั้งอยู่ที่บ้านสะวี ห่างจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2408 สิ่งที่น่าสนใจคือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ดูสวยงามแปลกตาฝีมือนายทอง ทิพย์ชา ช่างพื้นบ้านชาวมหาสารคาม ภาพจิตรกรรมที่วัดนี้จะเขียนทั้งภายในและภายนอกสิม(โบสถ์) สิ่งที่สะดุดตาอันดับแรกคือการใช้สี ช่างจะเขียนด้วยสีฝุ่นโทนสีคราม เหลือง ขาว มองสบายตา ลักษณะการเขียนภาพเน้นสัดส่วนที่เกินจริง อารมณ์ของภาพดูสนุกสนาน ตัวละครจะออกท่าทางโลดโผน เรื่องราวที่เขียนบนฝาผนังด้านนอกเป็นรูปนรกแปดขุม ภาพพระเวสสันดร นิทานพื้นบ้านเรื่องสังข์สินไชย ภาพทวารบาล ส่วนด้านในจะเล่าเรื่องพุทธประวัติ มีภาพเทพ มนุษย์และสัตว์ต่างๆ แต่ปรกติวัดในต่างจังหวัดยังคงเคร่งตามประเพณีเดิม คือผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปภายในโบสถ์ได้ ซึ่งวัดไชยศรีก็เป็นวัดหนึ่งที่ยังรักษาธรรมเนียมนี้อยู่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิมโบราณ เดิมเป็นหลังคาแบบอีสานคือมีปีกยื่น ต่อมาหลังคาชำรุดชาวบ้านจึงร่วมกันปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นแบบรัตนโกสินทร์ซึ่งไม่สามารถกันแดดกันฝนได้ทั่วถึงจึงทำให้ภาพจิตรกรรมที่ผนังด้านนอกเลือนไปบ้างแต่อย่างไรก็ดีกรมศิลปากรก็ได้เข้ามาต่อเติมปีกด้านข้างของโบสถ์แล้ว นอกจากนั้นยังยกพื้นขึ้นเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะฐานด้วย
การเดินทาง
ไปตามถนนมะลิวัลย์สายขอนแก่น-ชุมแพ ถึงกิโลเมตรที่ 14 แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหมู่บ้านสาวะถี ผ่านบ้านม่วงรวมระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าจะไปโดยทางลาดยางตลอดต้องอ้อมเล็กน้อยผ่านบ้านม่วง บ้านโคกล่าม บ้านหนองตาไก้ บ้านม่วงโป้ บ้านโนนกู่และเข้าสู่บ้านสาวะถี
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วัดพระพุทธบาทภูพานคำ


ตั้งบริเวณไหล่เขาภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองในมณฑป และ พระพุทธรูปสีขาวขนาดใหญ่ หรือหลวงพ่อใหญ่ สูง 14 เมตร อยู่บนยอดเขา มีบันไดทางขึ้นจากลานวัดไปยังยอดเขาจำนวน 1,049 ขั้น หรือจะขับรถยนต์ขึ้นไปถึงยอดเขาก็ได้  บนยอดเขามองเห็นทัศนียภาพทะเลสาบเขื่อนอุบลรัตน์ได้สวยงาม
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ ก่อนถึงประตูทางเข้าบริเวณเขื่อนจะมีป้ายวัดอยู่ด้านซ้ายมือ หรือจะใช้ทางเข้าวัดซึ่งอยู่ตรงข้ามกับโรงพยาลอุบลรัตน์ก็ได้
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

วัดอุดมคงคาคีรีเขต


ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านโคกเป็นวัดป่าของหลวงปู่ผางซึ่งเคยเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไปปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว แต่มีอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิของหลวงปู่ผางอยู่ในบริเวณวัดวัดนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีต้นไม้ป่าขึ้นอยู่ร่มรื่นเป็นวัดที่เน้นการปฏิบัติวิปัสสนา
การเดินทาง ไปตามเส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข12) ประมาณ 14 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าเส้นทางสายบ้านทุ่ม-มัญจาคีรี (ทางหลวงหมายเลข2062) อีกประมาณ 44 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าเส้นทางสายมัญจาคีรี-ชัยภูมิ(ทางหลวงหมายเลข 229) ประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าวัดอีก 12 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ


ครอบคลุมพื้นที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น 320 ตารางกิโลเมตร หรือ 201,250 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 สภาพพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ใบไม้จะเปลี่ยนสีผลัดใบในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ตั้งของสำนักงานอุทยานจะอยู่บริเวณภูพานคำริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์มีทิวทัศน์ที่สวยงามมากโดยเฉพาะเวลาพระอาทิตย์ตก ภายในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีสถานที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมได้ สิ่งที่น่าสนใจส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภูเก้าในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ของชุมชนในสมัยบ้านเชียง เช่น ภาพเขียนสีและภาพสลักตามผนังถ้ำต่างๆ และรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพันธุ์เดียวกับรอยเท้าที่พบที่อำเภอภูเวียง เป็นต้น

การเดินทาง

ใช้เส้นทางสายขอนแก่น-เขื่อนอุบลรัตน์ จากนั้นใช้เส้นทางอุบลรัตน์-โนนสัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือขึ้นรถโดยสารประจำทางสายเขื่อนอุบลรัตน์-โนนสังที่ตลาด อำเภออุบลรัตน์ สอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760www.dnp.go.th
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน


รูปลักษณ์ภายนอกของอุทยานแห่งนี้คือเทือกเขาหินปูนที่มีหน้าผาตัดตรงดิ่งลงมาเป็นริ้วๆคล้ายผ้าม่าน สภาพป่าของที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดิบ และป่าไม้เบญจพรรณ สภาพอากาศจะเย็นชื้นเกือบตลอดปี อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 218, 750 ไร่ ครอบคลุมอาณาบริเวณในอำเภอภูผาม่าน และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
สภาพป่าของที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดิบ และป่าไม้เบญจพรรณ สภาพอากาศจะเย็นชื้นเกือบตลอดปี อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 218, 750 ไร่ ครอบคลุมอาณาบริเวณในอำเภอภูผาม่าน และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานอยู่กระจัดกระจายกันจึงแบ่งเส้นทางท่องเที่ยวได้สองเส้นทางดังต่อไปนี้
- เส้นที่ว่าการอำเภอภูผาม่าน ไปตามเส้นทางชุมแพ - เพชรบูรณ์ (ทางหลวงหมายเลข 12) เลี้ยวขวาไปตามทาง สาย 201 ประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามทางสู่ที่ว่าการอำเภอภูผาม่าน
ถ้ำค้างคาว ตั้งอยู่บนภูผาม่าน ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯประมาณ2.5 กิโลเมตรอยู่บริเวณหน้าผาด้านหน้าสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 100 เมตร เมื่อเข้าใกล้จะได้กลิ่นเหม็นของค้างคาว ปากถ้ำสามารถมองเห็นแต่ไกล ภายในถ้ำมีค้างคาวขนาดเล็กอาศัยอยู่นับล้านๆ ตัว ภายในถ้ำมีกลิ่นเหม็นฉุนจัด ทุกวันค้างคาวจะออกจากถ้ำในเวลาประมาณ 18.00 น. ตอนบินออกจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที โดยจะบินออกเป็นกลุ่มยาวนับสิบกิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถมานั่งพักผ่อนและชมความอัศจรรย์ของธรรมชาติที่มีค้างคาวอยู่รวมกันนับล้าน ไปพร้อมกัน

ถ้ำพระ อยู่ใกล้เคียงกับถ้ำค้างคาว เป็นถ้ำที่มีลักษณะยาวเฉียงขึ้นด้านบนสามารถเดินทะลุถึงยอดภูผาม่านได้แต่เส้นทางค่อนข้างลำบากภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีเสาหินขนาดใหญ่ รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ตลอดทั้งปี แต่เหมาะที่จะท่องเที่ยวในฤดูหนาวเนื่องจากในฤดูฝนมีน้ำไหลผ่านถ้ำทำให้มีตะไคร่จับก้อนหิน

โครงการพัฒนาป่าดงลาน 4 ตั้งอยู่ที่บ้านวังสวาบหมู่ 1 ตำบลวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอภูผาม่าน ประมาณ 14 กิโลเมตร ที่นี่เป็นที่ทำการของหน่วยงานกรมป่าไม้ บริเวณรอบๆ เงียบสงบ อากาศหนาวเย็น มีบ้านพักรับรองแขกได้ประมาณ 30-50 คน นอกจากนั้นยังมีห้องประชุมขนาดย่อม เหมาะสำหรับผู้ที่มาพักผ่อนเป็นหมู่คณะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4324 9001

ถ้ำภูตาหลอ ตั้งอยู่ที่บ้านวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอภูผาม่าน 17 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงได้เฉพาะในฤดูแล้ง เป็นถ้ำที่โอ่งโถง พื้นที่ประมาณไร่เศษ เพดานถ้ำสูงประมาณ 5-7 เมตร มีหินงอกหินย้อยซึ่งยังอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติ พื้นถ้ำเป็นดินเรียบอากาศภายในเย็นสบาย หินบางก้อนมีลักษณะคล้ายหินเขี้ยวหนุมาน

น้ำตกตาดฟ้า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดฟ้าซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ในท้องที่บ้านดงสะคร่าน หมู่7 ตำบลวังสวาบ ห่างจากที่ว่าการอำเภอฯประมาณ 40 กิโลเมตร รถสามารถเข้าไปถึงแค่บ้านตาดฟ้า หลังจากนั้นต้องเดินเท้าต่อไปอีก มีน้ำตกทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่สวยงามที่สุดคือ ชั้นสุดท้ายซึ่งมีความสูงประมาณ 80 เมตร ฤดูที่น้ำตกตาดฟ้าจะสวยที่สุดคือฤดูฝน

- เส้นสำนักงานอุทยานฯ ตรงต่อมาจากเส้นทางเดิม ตามทางหลวงหมายเลข 201

ถ้ำพญานาคราช ภายในมีหินงอกหินย้อยลักษณะเป็นริ้วคล้ายม่านประดับด้วยเกร็ดประกายแวววาวของหินแร่สวยงามมาก ถ้ำนี้มีความคดเคี้ยวคล้ายดั่งตัวพญานาค ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร

ถ้ำลายแทง อยู่ถัดจากถ้ำพญานาคราชมาประมาณ 800 เมตร มีภาพเขียนสีโบราณบนผนังถ้ำกว้างประมาณ 2 ตารางเมตร ภาพมีลักษณะต่างๆ เช่น ภาพคน สัตว์และอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 70 ภาพ เมื่อชาวบ้านมาพบคิดว่าเป็นลายแทงบอกสมบัติจึงเรียกว่าถ้ำลายแทง
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่งคือ “น้ำตกตาดร้อง” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกตาดฮ้อง” อยู่ในเขตจังหวัดเลยระหว่างรอยต่ออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและอุทยานแห่งชาติภูผาม่านและลำน้ำพอง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูงประมาณ 70 เมตร เล่ากันว่าน้ำตกแห่งนี้ร้องได้เพราะบริเวณใต้น้ำตกมีแผ่นหินขนาดใหญ่ยื่นออกมารองรับน้ำตกเปรียบเสมือนลิ้นขนาดใหญ่เวลาน้ำตกลงมากระทบแผ่นหิน และแฉลบไปตามซอกหินต่างๆ ทำให้เกิดเสียงดังประหลาดก้องไปทั่วป่า
ที่อุทยานแห่งนี้ยังไม่มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจเที่ยวชมควรเตรียมพร้อมในทุกด้าน รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน โทร 0 4321 0163, 0 4335 8075 หรือที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียง


แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.orgตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่าพัฒนา อำเภอเวียงเก่า เป็นสวนสาธารณะริมเส้นทางระหว่างทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง มีพื้นที่ 25 ไร่  มีฉากหลังเป็นเทือกเขาภูเวียง ในบริเวณจัดทำเป็นสวนพักผ่อน สวนสุขภาพ มีโขดหิน น้ำตก บ่อน้ำ สวนหย่อม สนามนั่งเล่น มีหุ่นไดโนเสาร์จำลองเรียงรายทั่วบริเวณนับร้อยตัว บางตัวสามารถร้องได้ เคลื่อนไหวได้คล้ายของจริง  เป็นไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบฟอสซิลในภาคอีสาน
การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง โดยเดินทางจากขอนแก่นถึงอำเภอภูเวียงระยะทาง 70 กิโลเมตร และเดินทางจากตัวอำเภอต่อไปอีก 7 กิโลเมตร จะเห็นอุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียงอยู่ด้านซ้ายมือ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ที่จอดรถไม่มีที่จอดระสำหรับคนพิการ แต่ที่จอดรถเป็นลานกว้างใกล้ทางเข้าออกอุทยาน
ทางเดินทางเชื่อมอยู่ระดับเดียวกันกับพื้นภายนอก บางพื้นที่เป็นพื้นขรุขระเป็นกรวดใหญ่และแผ่นหินวางเว้นร่อง ยากแก่การสัญจร
ทางลาดมีทางลาดเข้าสู่บริเวณอุทยาน
บันไดพื้นผิววัสดุไม่ลื่น
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

อุทยานกล้วยไม้ป่าช้างกระ วัดป่ามัญจาคีรี


อยู่บนถนนสายมัญจาคีรี-ชนบท ห่างจากตัวอำเภอมัญจาคีรี 1 กิโลเมตร หรือห่างจากขอนแก่นประมาณ 57 กิโลเมตร บริเวณวัดเป็นเนินดินขนาดใหญ่กลางทุ่ง มีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ บริเวณวัดมีต้นไม้เก่าแก่จำนวนมากที่มีอายุหลายร้อยปี โดยเฉพาะต้นมะขาม และยังมีต้นตะโก กระถินป่า รวมประมาณ 280 ต้น มีกล้วยไม้ป่าพันธุ์ช้างกระเกาะอยู่ตามกิ่งไม้และเจริญพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 4,000 ต้น กล้วยไม้เหล่านี้จะเริ่มออกช่อในราวเดือนธันวาคมและดอกสีชมพูขาวจะชูช่อบานเต็มที่ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ไปทั่วบริเวณ 
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช มีเนื้อที่ 
830 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่างๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลงทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ
การเดินทาง
ไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร การเข้ามาทัศนศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีสองกรณีคือ หากเข้าชมแบบไป-กลับวันเดียว สามารถขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่บริเวณด่านตรวจปางม่วง กรณีพักค้างแรมต้องได้รับอนุญาตจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ กรุงเทพฯโดยตรง ทางเขตฯค่อนข้างเคร่งครัดในกฎระเบียบเพราะสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาในพื้นที่ก็เสมือนการเข้ามารบกวนธรรมชาติ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าจริงๆ และทางเขตฯ ไม่เปิดให้เข้าทัศนศึกษาในช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม)


เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระอำเภอคอนสาร สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้งแกนกลางเป็นดินเหนียว ตัวสันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตรเป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและยังอำนวยประโยชน์ในด้านเกษตรกรรมในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย นอกจากนี้บริเซรโดยรอบของเขื่อนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกคือ
พระพุทธสิริสัตตราชจำลอง (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)ประดิษฐานที่บริเวณหัวเขื่อนฝั่งซ้าย ตรงข้ามสวนเขื่อนจุฬาภรณ์
สวนเขื่อนจุฬาภรณ์ ตกแต่งเป็นป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่ประมาณ 41 ไร่มีไม้ป่านานาชาติพร้อมศาลาพรมพิสมัยสำหรับนั่งพักผ่อนทางเดินภายในสวนปูพื้นด้วยหินธรรมชาติ มีพืชโบราณ 325 ล้านปี เป็นพืชตระกูลหญ้ามี 2 สายพันธุ์ คือ สามร้อยยอดและสนหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง
ศาลาชมวิวหลุบควนเป็นจุดชมวิวอยู่ที่ระดับความสูง 800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและแคมป์ไฟ บริเวณริมอ่างเก็บน้ำ
สถานริมน้ำข้างพระตำหนัก มีบรรยากาศสงบร่มรื่น สามารถมองเห็นสันเขื่อนได้นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆอีกเช่น ทุ่งกะมังสถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว สวนรุกขชาติน้ำผุดทับลาวถ้ำค้างคาวภูผาม่าน เป็นต้น
บริเวณเขื่อนมีทิวทัศน์ที่งดงาม อากาศเย็นสบายตลอดปีจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิภายในบริเวณเขื่อนมีบ้านพัก ร้านอาหารไว้รับรองนักท่องเที่ยวเรือสำหรับให้ล่องชมอ่างเก็บน้ำ มีจุดชมวิวทิวทัศน์เหนือเขื่อนศูนย์ทดลองพืชเมืองหนาว และหอดูดาว ติดต่อบ้านพักรับรองของกฟผ. โทร. 0 2436 6046-8, 0 4486 1669 ต่อ 2287 ,2293 บริการสนามกอล์ฟ ติดต่อได้ที่ โทร. 0 4338 4969 ต่อ2630การเดินทางไปเขื่อนจุฬาภรณ์ จากตัวเมืองชัยภูมิ ใช้เส้นทางสายชัยภูมิ-ชุมแพ(ทางหลวงหมายเลข 201) ถึงทางแยกหนองสองห้อง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 2055 รวมระยะทางจากตัวเมืองชัยภูมิประมาณ 120 กิโลเมตรหรือหากเดินทางมาตามเส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เมื่อถึงบริเวณอำเภอคอนสารมีทางแยกไปเขื่อนจุฬาภรณ์อีก 39 กิโลเมตร
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

ถ้ำแก้ว


จากอำเภอภักดีชุมพลไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามทางหลวง 2359 ถึงบ้านซับเจริญมีทางแยกซ้ายไปอีก 5 กิโลเมตร ถ้ำแห่งนี้อยู่ภายในบริเวณวัดถ้ำแก้ว ลักษณะของถ้ำคล้ายห้องโถงลึกลงไปในภูเขา บรรยากาศเย็นและชื้นตลอดเวลา มีไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในถ้ำ จากปากถ้ำมีทางเดินลงลึกไปถึงด้านล่าง ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ และมีหินย้อย อยู่ตามผนังถ้ำ เมื่อต้องแสงเกิดเป็นประกายแวววาวสวยงาม
แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org